ภาษาไทย



❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

กาพย์เห่เรือ           

ผู้แต่ง    เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)  พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย 
รูปแบบ
แต่งเป็น  กาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท
จุดประสงค์ในการนิพนธ์  


คือ  ช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมารคเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือ นอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย
การดำเนินเรื่อง  


ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท


❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤


รามเกียรติ์



  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพื่อใช้ในการเล่นละคร ซึ่งบางส่วนของบทละครนี้ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละคร                                    
 เพื่อนำมาพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ส่วนบางตอนก็โปรดเกล้าฯให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชาตรวจชำระและจัดพิมพ์ขึ้นในงานพระราชกุศลฉลอง                                                   
พระตำหนักจิตรดารโหฐาน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ถือเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาไทยได้ดี ไม่น่าเบื่อ  และถือเป็นหนังสือสำคัญของชาติไทย  จนเรื่อยมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ใหม่เพื่อใช้ในการเล่นโขน ซึ่งมีเพียงบางตอนเท่านั้นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาแต่งใหม่ เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ  ตอนสีดาลุยไฟเป็นต้น รามเกียรติ์จึงถือเป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทย มีความไพเราะของสำนวนกลอน มีคติสอนใจ และให้แง่คิดต่างๆสอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บทละครเรื่องนี้ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย



❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤


สังข์ทอง


สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น[1] มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย
ในคำนำหนังสือ"พระราชนิพจน์บทละครเรื่องสังข์ทอง" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า
...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามล ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไมห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตงว่า เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า…
สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง 

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

ขุนช้าขุนแผน


เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง จนนักภาษาศาสตร์วิลเลียม เกดนีย์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามักคิดบ่อยๆว่า หากความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเกิดสูญหายไปหมด ทุกอย่างอาจจะถูกสร้างขึ้นมาได้ใหม่ จากข้อเขียนที่อัศจรรย์นี้"
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถูกสันนิษฐานว่าเป็นการแต่งขึ้นร้องแบบมุขปาถะ (ปากต่อปาก) เพื่อความบันเทิง ในลักษณะเดียวกับมหากาพย์ของยุโรป อย่างเช่นของโฮเมอร์ โดยคงจะเริ่มแต่งตั้งแต่ราวอยุธยาตอนกลาง (ราว พ.ศ. 2143) และมีการเพิ่มเติม หรือตัดทอนเรื่อยมา จนมีรายละเอียดและความยาวอย่างที่สืบทอดกันอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่ได้ถูกบันทึกลงไว้เป็นกิจลักษณะ เนื่องจากบุคคลชั้นสูงสมัยนั้นเห็นว่าเป็นกลอนชาวบ้าน ที่มีเนื้อหาบางตอนหยาบโลน และไม่มีการใช้ฉันทลักษณ์อย่างวิจิตร ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายในปี พ.ศ. 2310 จึงไม่มีต้นฉบับเรื่องขุนช้างขุนแผนเหลืออยู่ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความนิยมสูงในหมู่ชาวไทย จึงมีผู้ที่จำเนื้อหาได้อยู่มาก และทำให้ถูกฟื้นฟูกลับมาได้ไม่ยาก
สำหรับเนื้อหาของขุนช้างขุนแผนในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจเท่านั้น หากแต่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมกับที่มีคำกล่าวว่า วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้น ๆ ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ทราบด้วย


❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

จินดามณี


จินดามณี เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ 60 ชนิด มีทั้งจินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (แต่บางข้อมูลเชื่อว่าอาจจะแต่งก่อนหน้านั้นนับร้อยปี คือ แต่งในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ[1]) และยังเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยด้วย และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า "จินดามณี" เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล[2]



❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤


                                                                                                                          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้